คาเฟ่แมว

ปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “แมว” เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงยอดนิยม และมีอิทธิพลต่อจิตใจคนเลี้ยงเป็นอย่างมาก

ด้วยรูปร่างหน้าตาของเจ้าแมวนั้น เสน่ห์อันลึกลับน่าค้นหา แถมมีหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู รวมไปถึงนิสัยเย่อหยิ่งเอาแต่ใจ จนทำให้ ไม่ว่าใคร ก็ต้องยอมเป็น ทาส ของแมว เพื่อที่จะพิชิตใจ แมวซักครั้ง แม้ว่าจะต้องสูญเสียกำลังทรัพย์เป็นจำนวณมาก ก็ทุ่มเทเวลาให้กับแมว ในการดูแล ไม่มากก็น้อยกันเลยทีเดียว

แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ยังมีเหล่าทาสหลายๆ คน ยังมีสกิลไม่เพียงพอ ที่จะเป็นทาสชั้นดีของเจ้าแมวเมี๊ยวได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆ ของเหล่าทาสไม่ว่าจะเป็น วิถีการใช้ชีวิต เช่นที่พักอาศัยไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี่ยง หรือสมาชิคในครอบครัว ไม่อนุญาติให้เลี้ยงก็ตาม จึงส่งผลให้ คาเฟ่แมว กำเนิดขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการ ของเหล่าทาสขาจรทั้งหลาย

ที่ช่วยทำให้เหล่าทางขาจรใจฟู และกลายมาเป็นพื้นที่ แห่งมิตรภาพสำหรับเหล่าทาส “เราต้องคำนึงถึงแมวก่อน เพราะเราเหมือน อยู่ชั้นล่างสุดของระบบนิเวศ” เสียงจากคุณทับทิม เจ้าของ “Indicat Café” คาเฟ่แมวสุดเท่ ที่ก่อตั้งมานานเกือบ 4 ปี และมีพนักงาน จำนวณ 29 ตัว เป็นแมว

คาเฟ่แมว
คุณทับทิมเล่าว่า Indicat Café เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณทับทิมเอง

ที่ต้องการใช้เวลาอยู่กับแมวของเธอให้มากที่สุด หลังจากที่พบว่าการทำงานประจำหามรุ่งหามค่ำทำให้เธอไม่มีเวลาดูแลแมว ซึ่งขณะนั้นมีอยู่ทั้งหมด 7 ตัว จนกระทั่งแมวตัวหนึ่งป่วยและเข้ารักษาในโรงพยาบาล ดังนั้น งานใหม่ที่เธอเลือกก็คือการก่อตั้งคาเฟ่แมวสไตล์ลอฟต์ ที่ให้บริการเล่นกับแมว พร้อมอาหารและเครื่องดื่ม

“เราจะคุยกับลูกค้าว่าที่บ้านเลี้ยงแมวหรือเปล่า ส่วนใหญ่ก็คืออยู่หอพัก อะพาร์ตเมนต์ คอนโดมิเนียม ก็คือเลี้ยงแมวไม่ได้ แล้วก็อยากมาเล่นกับแมว อยากมาสัมผัส ฟังก์ชันที่นี่มันครบ เพราะว่าเขาจะได้ทั้งเล่นกับแมว กินอาหาร เครื่องดื่ม แล้วเราก็ให้บริการ wifi คุณสามารถแบกแล็ปท็อปมาทำงานได้เลย มันตอบโจทย์เกือบทุกไลฟ์สไตล์” คุณทับทิมเล่า

ในห้องแมวบนชั้น 2 จะมีพนักงานแมวฝูงใหญ่คอยต้อนรับลูกค้า พร้อมอุปกรณ์เสริมอย่างไม้ตกแมว และกิจกรรมที่ทั้งฟินและเจ็บปวดในคราวเดียวกัน อย่างการป้อนอกไก่ต้ม ที่เหล่าแมวจะเข้ามารุมแย่งอกไก่จากมือของคุณ และจากไปอย่างไร้เยื่อใยเมื่ออกไก่หมดถ้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแมวที่มาทำหน้าที่แจกความสดใสนั้นเป็นแมวของคุณทับทิมเอง

ดังนั้น การดูแลด้านความสะอาดและความปลอดภัยจึงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม “เราค่อนข้างเป็นคนใส่ใจเรื่องความสะอาดอยู่แล้ว คนที่เลี้ยงแมวทั่วไปจะอาบน้ำให้แมวเดือนละครั้ง แต่เราอาบน้ำให้แมวอาทิตย์ละครั้ง พอมาเปิดร้าน ก็ต้องยิ่งให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดยิ่งขึ้น เช่น ทุกวัน ตอนเก็บแมว เราก็จะเช็ดตัวแมวด้วยทิชชู่เปียกทุกวัน หวีขน ตัดเล็บ แคะหู แคะขี้ตาทุกวัน”

คุณทับทิมเล่า พร้อมเสริมว่า ทางร้านมีการศึกษานิสัยใจคอของแมว ทำให้รู้ว่าแมวแต่ละตัวมีข้อเสียอย่างไร ซึ่งทำให้ต้องวางระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ “เราใกล้ชิดแมว เราก็จะรู้ว่าตัวนี้มีข้อเสียคืออะไร เช่น ตัวนี้ไม่ถูกกับตัวนี้ ตัวนี้ไม่ชอบให้จับขา จับหาง เพราะฉะนั้น ห้องแมวก็จะต้องมีคนอยู่ด้วย คือมีเจ้าหน้าที่ของเราอยู่ตลอดเวลา เช่น ตัวนี้กับตัวนี้เข้ามาใกล้กันแล้ว ก็เข้าไปแยกก่อนที่จะเกิดอันตราย”

นอกจากนี้ ทางร้านยังมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในหลายจุด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับแมว “ปัญหาส่วนมากจะเกิดกับลูกค้าที่เป็นเด็ก ผู้ปกครองที่พาลูกหลานมา เราก็มีกฎแปะไว้ว่าต้องดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิดนะ แต่บางทีก็มีการปล่อยปละละเลย ส่วนมากที่เราเห็นก็คือคุณพ่อคุณแม่นั่งเล่นโทรศัพท์แล้วปล่อยลูกวิ่งเล่น

บางคนเหยียบหางแมว ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ในสายตาเรา ถ้าเสียงดังหรือแกล้งแมว เราเชิญกลับบ้านทั้งครอบครัวเลย” คุณทับทิมกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ภาพคาเฟ่ลอฟต์เรียบเท่ในฝันของคุณทับทิมกลับเปลี่ยนแปลงไปเป็นเหมือน “บ้านเพื่อน” ที่เหล่าทาสแมวนิยมมาเยี่ยมเยียนทั้งแมวและเจ้าของ ไม่เว้นแม้กระทั่งวันที่ร้านปิด

“วันจันทร์ร้านปิด ลูกค้าจะโทรมาตอนเช้า ถามว่าร้านเปิดไหม เหมือนโทรมาแกล้งน่ะ เราก็บอกว่าวันนี้ร้านหยุดค่ะ เขาถามว่าพี่จะเอาอะไรไหม เดี๋ยวซื้อเข้าไปฝาก เราไม่ได้มองคนที่มาใช้บริการเป็นลูกค้า เรามองว่าเขาเป็นเพื่อน เหมือนเพื่อนมาบ้านเรา มาเล่นกับแมวเรา แต่การมาบ้านของเพื่อนเราต้องทำให้เราและแมวเราอยู่ได้ด้วย”

ไม่ใช่แค่คาเฟ่แมวที่มีพนักงานแมวมาให้ลูกค้าได้เอาอกเอาใจ (ไม่ได้เอาใจลูกค้า!) เท่านั้น แม้แต่สถานสงเคราะห์สัตว์ก็มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของทาสแมวมากขึ้น อย่าง “มูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)” ที่หันมาสร้าง “บ้านแมว” ให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ

สำหรับผู้ที่มาบริจาค สิ่งของและเยี่ยมเยียนสัตว์พิการ และกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากสื่อออนไลน์ คุณครรชิต วาพิไล ผู้ช่วยผู้จัดการมูลนิธิบ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ (ในความอุปถัมภ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เล่าว่า ก่อนที่จะสร้างบ้านแมว พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่สำหรับดูแลสุนัขป่วย ทว่าต่อมามีผู้ติดต่อทางมูลนิธิให้รับดูแลแมวป่วย แมวพิการ และแมวที่ถูกทอดทิ้งมากขึ้น

ทางมูลนิธิจึงย้ายสุนัข ที่ได้รับการรักษาแล้วไปยังบ้านพักพิงที่ จ.นครปฐม และสร้างบ้านแมวขึ้น เพื่อให้แมวมีพื้นที่วิ่งเล่น ออกกำลังกาย รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเล่นกับแมวโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แมวในมูลนิธิจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ แมวที่หายป่วยแล้วและมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100 ตัว อาศัยอยู่ในบ้านแมว ตามด้วยแมวพิการที่สามารถใช้ชีวิต อยู่ร่วมกับคนหรือสัตว์อื่นๆ ได้

ซึ่งอาศัยอยู่อีกโซนหนึ่ง และแมวหาบ้าน ที่ส่วนใหญ่เป็นลูกแมว และรอให้มีผู้รับไปเลี้ยง

“ตามหลักแล้วเรารับเลี้ยงสัตว์พิการและช่วยเหลือสัตว์ที่ไม่มีคนดูแล อย่างแมวที่เราเห็นอยู่นี้ก็มาจากวัดบ้าง แม่ชีบ้าง หรือคนที่เลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว แต่สุขภาพไม่แข็งแรง เราก็รับมาเลี้ยง ก็เลยมีแมวเพิ่มขึ้น พอมีคนเข้ามาที่บ้านแมวเพิ่มขึ้น เขาก็เอาไปโพสต์ ไปแชร์กัน คนก็เข้าใจว่าที่นี่มีคาเฟ่แมว ก็เลยเป็นที่รู้จัก แล้วคนก็เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่เราไม่ใช่คาเฟ่แมว” คุณครรชิตอธิบาย

เช่นเดียวกับแมวในคาเฟ่ เมื่อเราก้าวเข้าสู่บ้านแมว ก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเหล่าเจ้านายขนนุ่ม ที่เข้ามาคลอเคลีย พันแข้งพันขา ไปจนถึงกระโดดขึ้นนั่งตักตามใจชอบ โดยไม่ต้องขออนุญาตคนแต่อย่างใด ทว่าเมื่อเทียบกับแมวในคาเฟ่แมว หรือแมวที่มีเจ้าของคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แมวในบ้านแมวส่วนใหญ่จะอ่อนแอและป่วยง่ายกว่า ทำให้ทางมูลนิธิต้องออกกฎเกณฑ์ ในการเข้าเยี่ยมแมวอย่างใกล้ชิด

ทั้งการล้างมือ เปลี่ยนรองเท้าก่อนเข้าบ้านแมว และห้ามนำอาหารจากภายนอกเข้ามาอย่างเด็ดขาด ส่วนผู้ที่เป็นภูมิแพ้ก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัย “เนื่องจากที่นี่เป็นมูลนิธิเปิด ก็จะมีคนหลากหลายเข้ามาเยี่ยมชม เราก็ต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นอันดับหนึ่ง สำคัญมาก ถ้าเราไม่ฉีดวัคซีนให้เขา เขาจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันไม่มี

แล้วก็มีการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าในช่วงหน้าร้อน ตั้งแต่เดือนเมษายน – พฤษภาคม ทุกปี รวมทั้งการถ่ายพยาธิ” คุณครรชิตกล่าว เมื่อถามถึงอุปสรรคหรือข้อจำกัดเกี่ยวกับบ้านแมว คุณครรชิตระบุว่า ข้อจำกัดหลักๆ คือเรื่องพื้นที่ที่ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถรับแมวมาเลี้ยงเพิ่มและดูแลเอาใจใส่ได้อย่างเต็มที่ได้

“แมวเป็นสัตว์ที่อ่อนโยนแล้วก็ขี้เล่น ไม่ว่าใครเข้ามา เขาจะเข้ามาคลอเคลีย มาเล่นด้วย เหมือนเขาอยากมีเพื่อนเล่นตลอดเวลา เราก็อยากให้เขามีความสุขด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือ แมวต้องใช้พื้นที่เยอะมาก ต้องมีพื้นที่ออกกำลังกาย ฝนเล็บ พูดง่ายๆ ก็คือ การเลี้ยงแมวให้มีความสุข ก็ต้องมีพื้นที่ให้เขาให้มากที่สุด” คุณครรชิตกล่าว

ขอบคุณแหล่งที่มา : sanook.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : restaurant-lemandalay.com