นางกิ๊ป หญิงนักต่อสู้ชาวบ้านบางกลอยป่วยเสียชีวิต ไร้จนท. ดูแล

นางกิ๊ป ต้นน้ำเพชร อายุ 44 ปี การเสียชีวิตของหญิงนักต่อสู้ชาวบ้านบางกลอย แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชน ให้คนใน ม.บางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก นำมาสู่การตั้งคำถามจากเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ถึงการให้บริการของระบบสาธารณสุข ล่าสุดเครือข่ายฯ แจ้งข้อมูลไปที่สายด่วน 1330 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแล้ว และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล

นางกิ๊ป ป่วยเสียชีวิต “SAVE บางกลอย” ตั้งคำถาม สปสช.

วันนี้ (27 พ.ค.2566) นางสาวอัญชลี อิสมันยี ผู้ประสานงานภาคีเซฟบางกลอย ให้ข้อมูลว่า ช่วงบ่ายของวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา นางกิ๊ป มีอาการไข้ หนาวสั่น อาการค่อนข้างน่าเป็นห่วง สามีจึงพาขึ้นรถกระบะออกจากหมู่บ้านไปยังอำเภอ เพื่อไปรักษาโรงพยาบาลตามสิทธิ์บัตรทอง ระยะทาง 18 กิโลเมตร บนถนนขรุขระ คดเคี้ยว ใช้เวลาเดินทางนาน 3 ชั่วโมง

ถึงโรงพยาบาลช่วงเย็นประมาณ 17.00 น. แต่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแจ้งว่าหมดเวลาเจาะเลือด จึงให้เดินทางกลับไปก่อน และมาใหม่ในวันรุ่งขึ้น วันต่อมา สามีพานางกิ๊ปไปโรงพยาบาลเดิมในสภาพที่อาการไม่ดีนัก รับบัตรคิว รอเข้ารับการรักษา  ประมาณ เที่ยงวันจึงได้รับการตรวจ แพทย์แจ้งญาติว่า นางกิ๊ปอาการหนัก ต้องส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัด เมื่อไปถึง จึงเข้ารับการรักษาห้อง ICU

ต่อมาช่วงเย็นของวันที่ 24 พ.ค. โรงพยาบาลจังหวัดแจ้งญาติว่านางกิ๊ปเสียชีวิต ด้วยโรคไข้เลือดออก ภาคีเซฟบางกลอยและเครือข่าย จึงตั้งคำถามเกี่ยวกับการให้บริการ เบื้องต้น เครือข่ายฯ แจ้งข้อมูลการเสียชีวิตของนางกิ๊ปไปยังสายด่วน สปสช.1330 แล้ว เพื่อบันทึกไว้เป็นข้อมูล

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ทราบกรณีนี้แล้ว หลังได้รับเรื่องขอให้ตรวจสอบการให้บริการของโรงพยาบาล ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ และสั่งการให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอ ชี้แจงข้อเท็จจริงภายใน 7-15 วัน

ขณะที่สถานการณ์ไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ใน 8 อำเภอ พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้เป็นช่วงเข้าหน้าฝน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังและยังควบคุมโรคได้

ลำดับเวลานำส่งผู้ป่วย “นางกิ๊ป ต้นน้ำเพชร” (จากคำบอกเล่าของผู้ประสานงานภาคี SAVE บางกลอย)

22 พ.ค. 66
– ผู้ป่วยเป็นไข้ หนาวสั่น
– 14.00 น. ออกจากบ้าน ในชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน
– 17.00 น. ถึงโรงพยาบาลตามสิทธิบัตรทอง
– เจ้าหน้าที่แจ้งหมดเวลาเจาะเลือด ให้กลับบ้าน

23 พ.ค. 66
– อาการค่อนข้างหนัก สามีพาไปโรงพยาบาลเดิมอีกครั้ง
– 6.00 น. ถึงโรงพยาบาล
– 12.00 น. ได้รับการตรวจ แพทย์แจ้งอาการหนัก ต้องส่งต่อโรงพยาบาลจังหวัด
– 13.00 น. ถึงโรงพยาบาลจังหวัด
– โรงพยาบาลแจ้งเป็นไข้เลือดออก มีภาวะแทรกซ้อน
– นำตัวเข้ารักษาห้อง ICU

24 พ.ค. 66
– 18.00 น. โรงพยาบาลแจ้งผู้ป่วยเสียชีวิต

นางกิ๊ป

เปิดช่อง ม.41 สปสช.เยียวยา “กิ๊ป บางกลอย”ตายจากไข้เลือดออก

กระทรวงสาธารณสุข เปิดช่องญาติยื่นคำร้องตามมาตรา 41 สปสช.เยียวยา “กิ๊ป บางกลอย” เสียชีวิตจากไข้เลือดออก ยันดูแลทุกกลุ่มผู้ป่วยเท่าเทียม พร้อมสั่งทีม SRRT ค้นหาคุมไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่จ.เพชรบุรี

กรณีการเสียชีวิตของ น.ส.กิ๊ป ต้นน้ำเพชร ผู้นำสตรีชาวบางกลอย จ.เพชรบุรี จากโรคไข้เลือดออกเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถูกการตั้งคำถามจากเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงการให้บริการของระบบสาธารณสุขกับกลุ่มชาติพันธุ์

วันนี้ (30 พ.ค.2566) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิระดับ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รับการยื่นหนังสือจากทางเครือข่ายประชาชนพิทักษ์เสรีภาพและความเป็นธรรม โดยขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต

ส่วนเรื่องของการเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบริการทางการแพทย์นั้น สามารถประสานยื่นเรื่องไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้ ซึ่งจะมีการพิจารณาเยียวยาตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด

ยืนยันดูแลทุกกลุ่มเท่าเทียม

สำหรับกรณีร้องเรียนการให้บริการผู้ป่วยนั้น นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สธ.มีนโยบายให้การดูแลประชาชนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนไม่มีอคติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ใด ซึ่งโรงพยาบาลแก่งกระจานก็มีการพัฒนาระบบบริการ เพื่อรองรับการดูแลประชากรกลุ่มต่างๆ ทั้งในเรือนจำ 2,192 คน และกลุ่มชาติพันธุ์ 3,650 คน ให้เข้าถึงสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลมากขึ้น มีการวางระบบนำส่งผู้ป่วยห่างไกลที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 4 ชั่วโมง

โดยมีการเปลี่ยนถ่ายให้รถโรงพยาบาลระหว่างทาง ช่วยลดระยะเวลาให้ผู้ป่วยถึงมือแพทย์เร็วขึ้น พัฒนาระบบ Tele-Health และ Sky doctor ส่งต่อผู้ป่วยภาวะวิกฤตทั้งนี้ จะให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงการให้บริการเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายต่อไป

อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจว่าโรคไข้เลือดออกนั้น อาการช่วงแรกจะมีความคล้ายกับโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยได้ยาก ซึ่งได้มีการกำชับให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเข้าสู่ช่วงการระบาดตามฤดูกาล

สั่งคุมโรคไข้เลือดออก-เฝ้าระวังในชุมชน

เบื้องต้น นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ได้รายงานกรณีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียชีวิต 1 คนเป็นเพศหญิง อายุ 44 ปี เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.นี้ เข้ารับการรักษาครั้งแรกที่โรงพยาบาล แก่งกระจาน วันที่ 20 พ.ค. จากนั้น ส่งต่อมาโรงพยาบาลพระจอมเกล้าวันที่ 22 พ.ค.และเสียชีวิตวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 9.00 น.

ขณะนี้ให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลพระจอมเกล้า สอบสวนโรคจากประวัติการรักษา และให้ทีม SRRT แก่งกระจาน ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดเพิ่มเติม ค้นผู้ป่วยในชุมชน เป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค

พร้อมทั้งแจ้งให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคใน จ.เพชรบุรี เฝ้าระวังการป่วยในชุมชนที่ผู้ป่วยพักอาศัยต่อเนื่องจนกว่าโรคจะสงบ และดำเนินการควบคุมโรคตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ล่าสุดมีคาดการณ์ว่าในเดือน มิ.ย.นี้ จะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้น จากสถิติตั้งแต่เดือน ม.ค.2566 พบผู้ป่วยสะสม 16,650 คน สูงกว่าปีที่ผ่านมาหลายเท่าตัว จากเดิมในปี 2562

พบการระบาดสูง และการระบาดลดลงช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ก่อนกลับมาระบาดอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 17 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 7 คน ผู้หญิง 10 คน ในจำนวนนี้ผู้เสียชีวิตอายุน้อยสุด 2 ปี และอายุมากสุด 51 ปี

ขั้นตอนยื่นคำร้องเยียวยาตามตรา 41 สปสช.

สำหรับการเยียวยาตามมาตรา 41 ของสปสช.สาระสำคัญของข้อบังคับฯ เป็นการปรับปรุงแก้ไข โดยให้ผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สามารถยื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย จากข้อบังคับฯ เดิมที่กำหนดให้ยื่นคำร้องภายใน 1 ปี

โดยขั้นตอนการยื่นขอรับเงิน แนวทางการยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรา 41  ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้รับบริการ หรือทายาท ซึ่งทายาท ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส ผู้สืบสันดาน(บุตร) พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดา พี่น้องร่วมมารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา โดยให้ทายาทคนใดคนหนึ่งยื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นตามลำดับชั้น

วิธียื่นคำร้อง 2 วิธีคือ ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่หน่วยรับคำร้อง หรือส่งคำร้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยคณะกรรมการจะถือวันที่ประทับตราเป็นวันที่ยื่นคำร้อง ส่วน สถานที่ยื่นคำร้อง ต่างจังหวัดที่ สปสช.สาขาจังหวัด ที่เกิดเหตุ ส่วน กทม. สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร

ที่มา

 

ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่  restaurant-lemandalay.com

สนับสนุนโดย  ufabet369.net